วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เฉลยแบบฝึกหัดที่ ๓



เฉลยแบบฝึกหัดที่ ๓


คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย / หน้าประโยคคำสั่ง


.....................                           ๑.  เอมรดน้ำต้นไม้

........./............                          ๒.  ห้ามเล่นเกมคอมพิวเตอร์เกิน ๒ ชั่วโมง

.....................                           ๓.  น้องฟางอยากไปเที่ยวสวนสนุก

......../.............                          ๔.  อย่าขว้างลูกบอลใส่กำแพงบ้าน

......../.............                          ๕.  จงหาสาเหตุของปัญหานี้




แบบฝึกหัดที่ ๓



แบบฝึกหัดที่ ๓


คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย / หน้าประโยคคำสั่ง

.....................                           ๑เอมรดน้ำต้นไม้

.....................                           ๒ห้ามเล่นเกมคอมพิวเตอร์เกิน ๒ ชั่วโมง


.....................                           ๓น้องฟางอยากไปเที่ยวสวนสนุก

.....................                          ๔อย่าขว้างลูกบอลใส่กำแพงบ้าน

.....................                           ๕จงหาสาเหตุของปัญหานี้






วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เฉลยแบบฝึกหัดที่ ๒

                                                               เฉลยแบบฝึกหัดที่ ๒
                                                                                  
    
   คำชี้แจง เขียนเครื่องหมาย / หน้าประโยคคำถาม
                 
                 ๑.  ........./.........  ใครยังไม่ส่งการบ้าน

                 ๒.  .................  ฉันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

                 ๓.  .................  เขาไม่ใช่เพื่อนฉัน

                 ๔.  ......../.........  ลุงบุญมีวิธีปลูกส้มอย่างไร

                 ๕.  .................  ใครจะอยู่หรือใครจะไปก็ได้เห็นกันในวันนี้

                 ๖.  ........./.........  เธอชอบกินอาหารทะเลหรือไม่

                 ๗.  .................  เขาไม่ได้ไปสำรวจแมลง

                 ๘.  ........./........  ใครจะไปเยี่ยมคุณครูที่โรงพยาบาลกับฉันบ้าง

                 ๙.  ..................  เด็กกลุ่มหนึ่งยืนอยู่ริมรั้ว


                ๑๐.  ......../........  เหตุใดจึงเกิดรุ้งกินน้ำ

แบบฝึกหัดที่ ๒

แบบฝึกหัดที่ ๒

       คำชี้แจง เขียนเครื่องหมาย / หน้าประโยคคำถาม
                 
                 ๑.  ..................  ใครยังไม่ส่งการบ้าน

                 ๒.  .................  ฉันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

                 ๓.  .................  เขาไม่ใช่เพื่อนฉัน

                 ๔.  .................  ลุงบุญมีวิธีปลูกส้มอย่างไร

                 ๕.  .................  ใครจะอยู่หรือใครจะไปก็ได้เห็นกันในวันนี้

                 ๖.  ..................  เธอชอบกินอาหารทะเลหรือไม่

                 ๗.  .................  เขาไม่ได้ไปสำรวจแมลง

                 ๘.  .................  ใครจะไปเยี่ยมคุณครูที่โรงพยาบาลกับฉันบ้าง

                 ๙.  ..................  เด็กกลุ่มหนึ่งยืนอยู่ริมรั้ว

                ๑๐.  ................  เหตุใดจึงเกิดรุ้งกินน้ำ





เฉลยแบบฝึกหัดที่ ๑



เฉลยแบบฝึกหัดที่ ๑


๑.  ลูกหมาตัวนี้เป็นพันธุ์หลังอาน               ก.  ประโยคบอกเล่า   

๒.  น้องไม่กลัวตุ๊กแก                         ข.  ประโยคปฏิเสธ

๓.  ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ                 ค.  ประโยคคำสั่ง

๔.  เมื่อวานเธอทำอะไรอยู่                     ง.  ประโยคคำถาม

๕.  กรุณารักษาความสะอาด                   จ.  ประโยคขอร้อง ชักชวนและอนุญาต                              

๖.  ฉันต้องการไปซื้อหนังสือ                  ฉ.  ประโยคแสดงความต้องการ 



                           


แบบฝึกหัดที่ ๑







ประโยคแสดงความต้องการ

        ประโยคขอร้อง ชักชวน และอนุญาต คือ ประโยคที่มีใจความเชิง

ขอร้อง ชักชวน หรือขออนุญาต อาจละประธานไว้ก็ได้ มักมีคำว่า โปรด 

กรุณา ช่วย วาน อยู่หน้าประโยค และคำว่า หน่อย นะ น่า อยู่ท้ายประโยค เช่น
                  ช่วยกันรักษาความสะอาดของโรงเรียนหน่อย
               กรุณาส่งงานให้ฉันด้วยนะ
                 วานเก็บไม้บรรทัดให้ฉันที 
                  กรุณาวางรองเท้าให้เป็นระเบียบ

ประโยคขอร้อง ชักชวน และอนุญาต

                                                             




                                                                          ประโยคขอร้อง ชักชวน และอนุญาต

          ประโยคขอร้อง ชักชวน และอนุญาต คือ ประโยคที่มีใจความเชิงขอร้อง ชักชวน หรือขออนุญาต อาจละประธานไว้ก็ได้ มักมีคำว่า โปรด กรุณา ช่วย วาน อยู่หน้าประโยค และคำว่า หน่อย นะ น่า อยู่ท้ายประโยค เช่น

                  ช่วยกันรักษาความสะอาดของโรงเรียนหน่อย
               กรุณาส่งงานให้ฉันด้วยนะ
                 วานเก็บไม้บรรทัดให้ฉันที 
                  กรุณาวางรองเท้าให้เป็นระเบียบ


ประโยคแสดงความต้องการ







ประโยคแสดงความต้องการ

        ประโยคขอร้อง ชักชวน และอนุญาต คือ ประโยคที่มีใจความเชิง

ขอร้อง ชักชวน หรือขออนุญาต อาจละประธานไว้ก็ได้ มักมีคำว่า โปรด 

กรุณา ช่วย วาน อยู่หน้าประโยค และคำว่า หน่อย นะ น่า อยู่ท้ายประโยค เช่น
                  ช่วยกันรักษาความสะอาดของโรงเรียนหน่อย
               กรุณาส่งงานให้ฉันด้วยนะ
                 วานเก็บไม้บรรทัดให้ฉันที 
                  กรุณาวางรองเท้าให้เป็นระเบียบ

ประโยคคำสั่ง

                                                         


                                                     ประโยคคำสั่ง

          ประโยคคำสั่ง  คือ  ประโยคที่บอกให้บุคคลอื่นทำหรือไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง   มักละประธานไว้ ประโยคคำสั่งมี ๒ ลักษณะ คือ
            ♦  ประโยคสั่งให้ทำ ขึ้นต้นประโยคด้วยคำกริยาหรือคำว่า จง หากมีประธานมักมีคำว่า ซิ นะ หน่อย อยู่ท้ายประโยค เช่น
                        พูดเบา ๆ หน่อย
                        หยิบหนังสือให้ทีซิ
                        จงข้ามถนนตรงทางม้าลาย
                        กินข้าวเช้าด้วยกันนะ
             ♦  ประโยคห้ามหรือสั่งไม่ให้ทำ มักมีคำว่า อย่า ห้าม ขึ้นต้นประโยค เช่น

                        อย่าส่งเสียงดัง
                        ห้ามเดินลัดสนาม

ประโยคคำถาม



ประโยคคำถาม

        ประโยคคำถาม เป็นประโยคที่ใช้ในการตั้งคำถาม เมื่อต้องการคำตอบ จะมีคำแสดง เป็นคำถามอยู่ในประโยค จะอยู่ต้นประโยคหรือท้ายประโยคก็ได้ คำที่แสดงคำถาม ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ทำไม เมื่อไร อย่างไร เหตุใด ไหน
         
         ประโยคคำถามมี ๒ ลักษณะ 

         ๑.  ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบเป็นเนื้อความใหม่ มักจะมีคำว่า ใด ใคร ที่ไหน อย่างไร เหตุใด เท่าใด ประกอบอยู่ด้านหน้าประโยค หรือหลังประโยคก็ได้ เช่น
                                     คำถาม                                             คำตอบ

เธอจะไปเที่ยวที่ไหน                           ฉันจะไปเที่ยวจังหวัดกระบี่
กระเป๋าใบนี้ราคาเท่าไร                         ราคา ๒,๐๐๐ บาท
เมื่อไรพ่อจะพาไปเที่ยวเขาดิน                   วันอาทิตย์ที่จะถึงนี้
ทำไมเธอไม่ไปโรงเรียน                         เพราะฉันไม่สบาย 

          ๒.  ประโยคคำถามที่ต้องการตอบรับ มักจะมีคำว่า หรือ หรือไม่ ไหม ใช่หรือไม่ เป็นคำถามอยู่ท้ายประโยค
                        
             คำถาม                                                          คำตอบ

     เธอชอบวาดรูปไหม                                                        ชอบค่ะ
     ปากกาด้ามนี้เป็นของเธอหรือ                        ค่ะ ปากกาด้ามนี้เป็นของหนู
     พ่อจะไปกระบี่กับแม่หรือไม่                         ค่ะ พ่อจะไปกระบี่กับแม่ด้วย
     น้องรู้จักตั๊กแตนหรือไม่                                                  ไม่รู้จักครับ

       ประโยคบางประโยคแม้จะมีคำต่างๆ เหล่านี้อยู่ แต่เป็นประโยคไม่ต้องการคำตอบ เราไม่เรียกประโยคคำถาม เช่น
            ใครไม่มาก็แล้วไป
            ถึงอย่างไรฉันก็จะทำให้ได้
            ทุกวันนี้อะไรๆ ก็ขึ้นราคา

                                                                                 

ประโยคปฏิเสธ




ประโยคปฏิเสธ

        ประโยคปฏิเสธ เป็นประโยคที่มีใจความตรงกันข้ามกับประโยคบอกเล่า แสดงให้ทราบว่าประธานของประโยคปฏิเสธ
         การกระทำของกริยาในประโยค จะแสดงการห้าม หรือคัดค้านไม่ตอบรับ มักมีคำว่า ไม่ ไม่ได้ มิได้ หาไม่ หามิได้ ประกอบหน้าคำกริยาของประโยคนั้นๆ เช่น
      พี่ไม่ชอบสวมเสื้อสีแดง
     นี่ไม่ใช่กระเป๋าของฉัน
     ฉันไม่ได้เป็นคนหยิบดินสอสีของเธอไป
     แม่ไม่ชอบผ้าชิ้นนี้
     เมืองไทยไม่มีหิมะ

     เขาไม่ชอบเขียนจดหมาย

ประโยคบอกเล่า

ประโยคบอกเล่า

            ประโยคบอกเล่า เป็นประโยคที่ประกอบด้วย ประธาน กริยา กรรมหรือมีส่วนขยาย เพื่อบอกความแจ่มแจ้งชัดเจน ทำให้ทราบว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน  อย่างไร เป็นการบอกเรื่องราวต่าง ๆ ให้ทราบ เช่น
                ขวัญและหวานชอบอ่านหนังสือทุกวัน
                วันนี้พ่อกับแม่จะพาฉันไปเที่ยวสวนสัตว์
                ฉันชอบอ่านหนังสือและฟังเพลงในเวลาว่าง
                น้องเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
                แมลงเป็นสัตว์ที่มีจำนวนมากที่สุด
                เด็ก ๆ วาดรูปป่าชายเลน
                นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ กำลังว่ายน้ำ
                ฝนตกหนัก
                                    แม่ไปซื้อรองเท้าที่ตลาด